อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

<div style=”margin-bottom:5px”> <strong> <a href=”http://www.slideshare.net/khunjitjaisroisirima/100-16668007&#8243; title=”อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 100″ target=”_blank”>อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 100</a> </strong> from <strong><a href=”http://www.slideshare.net/khunjitjaisroisirima&#8221; target=”_blank”>Khunjitjai Sroi Sirima</a></strong> </div>

พนักงานต้อนรับ

33

 

แอร์โฮสเตส และสจ๊วต จึงหมายถึงผู้พิทักษ์ความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน โดยมีหน้าที่ต่างๆ เช่น คอยดูแลช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน รับผิดชอบครวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่างๆ เช่น ถังออกซิเจน เครื่องดับเพลิง ไฟฉาย หน้ากากออกซิเจน และเสื้อชูชีพ สำหรับสาธิตให้ผู้โดยสาร ฯลฯ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายการ และอยู่ในสภาพใช้การได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้โดยสาร เช่น การเตรียมอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม การให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้โดยสารที่เกิดเจ็บป่วย การจัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร ตรวจดูให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดก่อนเครื่องบินขึ้นหรือลง แจกหนังสือพิมพ์ นิตยสารให้ผู้โดยสารอ่าน และดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยในห้องผู้โดยสารและห้องน้ำ รวมทั้งให้บริการด้านอื่นๆ ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร

–> คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต เป็นอาชีพที่ให้บริการแก่ผู้โดยสาร ฉะนั้น ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้ ยังควรมีคุณสมบัติต่างๆ เช่น

1. มีกิริยามารยาท สุภาพอ่อนโยน อบอุ่น และมีท่วงท่าที่นุ่มนวล
2. มีบุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตรกับผู้อื่น และสามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสังคมได้ง่าย
3. มีความอดทนต่อความยากลำบากของงาน อดทนต่อปฏิกิริยาของผู้โดยสาร และมีความอดทนต่อเพื่อนร่วมงานต่างๆ
4. แต่งตัวดี สะอาด และเรียบร้อย
5. มีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
6. มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ
7. มีใจรักงานทางด้านบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีความห่วงใยเอาใจใส่อย่างจริงใจที่จะมอบให้แก่ผู้โดยสาร
8. มีความรู้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆดี
9. สามารถว่ายน้ำได้
10. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

–> การทำงาน

การทำงานของแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้น เป็นเวลาที่ไม่แน่นอนไม่เลือกกลางวันหรือกลางคืน ขึ้นอยู่กับเที่ยวบินหรือสายการบินที่จะเดินทาง ว่าจะออกกี่โมงและในการเดินทางแต่ละครั้งทั้งสจ๊วต และแอร์โฮสเตสจะต้องกำหนดเวลาในการเดินทางไปสนามบินเผื่อไว้ทุกครั้ง โดยจะต้องเดินทางไปถึงสนามบินก่อนเครื่องบินออกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อเตรียมตัวและไม่ตกเครื่องบิน แอร์โฮสเตสและสจ๊วตจึงต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบอยู่สูง

–> โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ ย่อมมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งไปสู่ตำแหน่งงานที่สูงกว่าและดีกว่า ตั้งแต่เริ่มแรก คือ เมื่อสจ๊วตและแอร์โฮสเตสได้รับการฝึกอบรมครบ 8 สัปดาห์แล้ว ก็จะเริ่มปฏิบัติงานจริง โดยในช่วงเดือนแรกจะเป็นช่วงของการทดลองงาน (บินภายในเอเชีย) จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน จากซุปเปอร์ไวเซอร์ หรือ หัวหน้างาน ซึ่งจะประเมินผลในทุกๆด้าน เช่น การให้การบริการ การตรงต่อเวลา การร่วมมือประสานงานกัน การแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อารมณ์ และทัศนคติ เป็นต้น เมื่อพ้นช่วงทดลองงาน 6 เดือนแล้ว จึงจะได้บินไป ตะวันออกกลางและพอผ่านการทดลองงาน 1 ปี จึงจะได้บินข้ามทวีป แต่ก็ยังคงทำงานในชั้นประหยัด ( Economy Class ) เหมือนเดิม จนกระทั่ง 1 ปี 6 เดือน จึงจะมีสิทธิ์สมัครชั้นธุรกิจ ( Royal Executive Class )ได้ การคัดเลือกครั้งนี้จะพิจารณาจากประวัติการทำงาน พอพ้นจากชั้นธุรกิจจึงจะมีสิทธิ์สมัครทำงาน ในชั้นหนึ่ง ( Royal First Class ) ทุกครั้งที่เลื่อนชั้นการทำงานก็จะได้รับการอบรมเพิ่มเติมทั้งในด้านอาหาร เครื่องดื่ม การบริการ และการดูแลรักษาความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉินเสมอ

นอกจากความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่งของชั้นบริการแล้ว แอร์โฮสเตสและสจ๊วต ยังมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งอื่นๆอีก เช่น เลื่อนเป็นซุปเปอร์ไวเซอร์ เป็นครูฝึก เป็นต้น

–> ความต้องการแรงงาน

การประกอบอาชีพแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้นเป็นอาชีพที่ต้องการความคล่องแคล่ว ว่องไว ผู้ประกอบอาชีพในตำแหน่งนี้ จึงมักเป็นผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ แต่พอมีอายุมากขึ้นก็ต้องย้ายไปทำงานในส่วนอื่น ที่มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป จึงทำให้การปลดเกษียณอายุของการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสั้นกว่าการทำตำแหน่งอื่น ( ผู้ที่ปลดเกษียณการเป็นพนักงานต้อนรับ มักจะสามารถทำงานในภาคพื้นดินได้ ) ทำให้ความต้องการของอาชีพนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบกับการขยายตัวของสายการบินต่างๆ ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ ที่เป็นต้นเหตุให้คนในประเทศต่างๆต้องมีการติดต่อกันเพื่อผลทางธุรกิจ จึงทำให้มีผู้คนที่ต้องเดินทางเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ที่มาติดต่อธุรกิจหรือผู้ที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจึงเป็นอาชีพที่ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตราบเท่าที่มีการขยายตัวของสายการบินต่างๆทั่วโลก

นักประชาสัมพันธ์

111

 

นักประชาสัมพันธ์

จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี

บทที่ 4 องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์

หน่วยงาน องค์การ สถาบัน

องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์ในอันดับแรกและสำคัญมากคือ ต้องมีหน่วยงาน องค์การ สถาบัน ถ้าไม่มีแล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะทำการเผยแพร่ข่าวสารของใคร ซึ่งถ้าเปรียบเทียบประกอบของการสื่อสารก็คือ ผู้ส่งสาร (Sender)ภายในหน่วยงาน องค์การ สถาบัน มีปัจจัยที่สำคัญที่จะทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่หรือเป็นผู้ส่งสาร นั่นคือนักประชาสัมพันธ์ นั่นเอง


ความหมายของคำว่า “นักประชาสัมพันธ์”

วิรัช ลภิรัตนกูล ได้ให้ความหมายของคำว่า นักประชาสัมพันธ์ “นักประชาสัมพันธ์ คือ บุคคลผู้ดำเนินงานเพื่อสร้างสรรค์และธำรงไว้ ซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่าง หน่วยงาน องค์การ สถาบันกับกลุ่มประชาชน”

 


นิยามอาชีพ

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างความนิยม ทัศนคติที่ดีและรักษาภาพพจน์ที่ดีขององค์กร รวมถึงงานบริการหรือสินค้าขององค์กรต่อสาธารณะชนหรือประชาชน ติดต่อประสานงานและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า พนักงานของบริษัท ผู้ขายหรือผู้จัดส่งสินค้าให้บริษัท ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหน้าที่ของรัฐ สาธารณชนหรือชุมชนทั่วไป

 


คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์

เอ็ดเวิร์ด  แอล  เบอร์เนย์  (Edward L. Rernays)  อ้างในวิรัช  ลภิรัตนกูล  อธิบายถึงคุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์1.  ต้องเป็นผู้ที่มีนิสัยรักหรือชอบในอาชีพนี้  2.  ต้องเป็นคนที่มีความตั้งใจในการทำงานด้านนี้อย่างแน่วแน่3.  ต้องเป็นที่มีความสุขุมรอบคอบ4.  มีความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นเสมอ5.  มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

งานของนักประชาสัมพันธ์

สมาคมการประชาสัมพันธ์แห่งสหรัฐอเมริกา (PRSA) ได้จำแนกประเภทงานของนักประชาสัมพันธ์หรือผู้ที่ทำงานด้านนี้ไว้ดังนี้ คือ

1. งานด้านการเขียน  (Writing) นักประชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้ความสามารถในด้านการเขียนเป็นอย่างดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนทางด้านการประชาสัมพันธ์  หรือการเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์ 2. งานบรรณาธิการ  (Editing)  นักประชาสัมพันธ์  อาจต้องรับหน้าที่ในการผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ ส ำหรับเผยแพร่ประชาชนทั้งกลุ่มประชาชนภายในและภายนอกหน่วยงาน3. งานการกำหนดตำแหน่งหน้าที่  (Placement) นักประชาสัมพันธ์  จะต้องติดต่อกับสื่อมวลชนต่างๆ  เช่น  หนังสือพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์  นิตยสารต่างๆ ฯลฯ  นักประชาสัมพันธ์จะต้องทราบถึงตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในการส่งข่าวหรือติดต่อกับสื่อมวลชนเหล่านี้4. งานด้านการส่งเสริม  (Promotion) นักประชาสัมพันธ์จะต้องจัดงานต่างๆ เป็น  เช่น  งานเหตุการณ์พิเศษ  (special events)  งานนิทรรศการ  งานฉลองครบรอบปี  งานแสดงพิเศษต่างๆ  งานเลี้ยงและแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน  งานเปิดสำนักงานหรือเปิดบริษัทใหม่5. งานด้านการพูด  (Speaking) นักประชาสัมพันธ์จะต้องพร้อมเสมอที่จะพูดแถลงชี้แจงกับประชาชนซึ่งเป็นการติดต่อ6. งานด้านการผลิต  (Production)  นักประชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อหรือเครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์บางประเภท  เช่น  โปสเตอร์  และจุลสาร7. งานด้านการวางโครงการ  (Programming)  นักประชาสัมพันธ์จะต้องรู้จักการวางโครงการประชาสัมพนธ์ตามที่ประสงค์  เพื่อให้สอดคล้องกับจุดหมายขององค์การ8. งานด้านการโฆษณาสถาบัน  (lnstitutional Advertising)  นักประชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์  (Public Relations Advertising)  หรืออีกในหนึ่งก็คือ  การโฆษณาเพื่อหวังผลทางด้านการประชาสัมพันธ์  ในด้านชื่อเสียง  ศรัทธา  และภาพลักษณ์  (Image)  ของหน่วยงาน

ลักษณะของงานที่ทำ

1. ศึกษางานหรือกิจกรรม หรือสินค้าขององค์กร นโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ต้องการ ทำการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงานประชาสัมพันธ์ 2. วางแผนงาน โครงการ และการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรับรู้ หรือรู้เห็น สร้างความเชื่อถือ กระตุ้นพนักงานขายหรือบริการ หรือคนกลาง โดยการเสนอข่าว หรือบทความเกี่ยวกับงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่ายแล้ว หรือจะออกจำหน่ายใหม่ 3. คัดเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานหรือผลิตภัณฑ์ที่จะประชาสัมพันธ์ เช่น สิ่งพิมพ์ การสร้าง กิจกรรมหรืออุปถัมภ์รายการ จัดทำข่าวสารเผยแพร่ การกล่าวสุนทรพจน์ หรือคำปราศรัย ในงานที่จัดขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการช่วยเหลือสาธารณชน เพื่อสร้างความนิยมให้แก่องค์กร 4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเครื่องมือที่คัดเลือกแล้ว หรือผ่านสื่อมวลชนต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น 5. จัดหาข้อความที่เหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์ โดยให้เกิดความรู้สึกเชื่อถือ สร้างความนิยมและดึงดูดใจ 6. จัดทำข่าวสาร หรือจัดเตรียมการแถลงข่าวของผู้บริหารขององค์กร และร่างสุนทรพจน์ หรือคำปราศรัยที่ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อเสริมสร้างภาพพจน์ขององค์กร และไม่เกิดผลกระทบต่อองค์กร 7. จัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อสื่อสารสู่กลุ่มเป้าหมาย ตลาด สาธารณชนทั่วไป สิ่งพิมพ์อาจเป็นในรูปรายงาน ประจำปี จดหมายข่าว นิตยสาร บทความ ใบปลิว เป็นต้น 8. จัดเก็บข่าวขององค์กร ตรวจสอบ และพิจารณาว่ามีผลกระทบต่อองค์กร หรือผลิตภัณฑ์หรือ ไม่ชี้แจงแก้ข่าวที่มีผลกระทบต่อองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ 9. ประเมินผลการประชาสัมพันธ์ แก้ไขปรับปรุงการประชาสัมพันธ์เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย และเป้าหมาย และจัดทำรายงานผลการประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยข้อเสนอแนะ

นอกจากนี้ อาจทำหน้าที่ต้อนรับและตอบข้อซักถามผู้มาติดต่อ ลูกค้า หรือบุคคลสำคัญ โดยพยายามสร้างความพอใจและเป็นไปตามความต้องการผู้มาติดต่อ ลูกค้า และบุคคลสำคัญ

 


หน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์

1. ทำหน้าที่เป็นผู้รับฟังความคิดเห็น (Listener)  นักประชาสัมพันธ์จะต้องการสำรวจวิจัยหรือรับฟังความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของประชาชน  เพื่อจะได้สามารถดำเนินการประชาสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง  และสอดคล้องกับประชามติ2. ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา  (Counselor)  นักประชาสัมพันธ์จะต้องทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ต่อฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการ  (Management)  ของหน่วยงานเพื่อให้องค์การสถาบันกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน3. ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อสื่อสาร  (Communicator)  นักประชาสัมพันธ์จะต้องทำหน้าที่เป็น  “สื่อกลาง”  หรือผู้ติดต่อสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจแก่กลุ่มประชาชนทั้งภายในสถาบันและนอกองค์การสถาบัน4. ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินผล (Evaluator) นักประชาสัมพันธ์ต้องติดตาม ประเมินผลทุกครั้งที่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ไปแล้วว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

จรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์

       จริยธรรม  หรือจรรยาบรรณ  กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ  การประชาสัมพันธ์ของสมาคมการประชาสัมพันธ์แห่งสหรัฐอเมริกา  (CODE OF PROFESSIONAL STANDARDS FOR THE PRACTICE OF  PUBLIC  RELATIONS  SOCIETY  OF AMERICA)  กล่าวไว้ดังนี้1. สมาชิกมีหน้าที่ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ชอบธรรมต่อลูกค้าของตน  หรือต่อนายจ้าง  ไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม  อีกทั้งต้องให้ความเป็นธรรมต่อเพื่อนสมาชิกด้วยกันและต่อประชาชนด้วย 2.  สมาชิกจะต้องดำเนินชีวิตในการประกอบวิชาชีพนี้  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยส่วนรวม 3.  สมาชิกมีหน้าที่ยึดมั่นในมาตรฐานแห่งวิชาชีพนี้  ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องแม่นยำ  การยึดมั่นในสัจจะและการมีรสนิยมที่ดี4.  สมาชิกจะต้องไม่ทำตนเป็นผู้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีผลประโยชน์แข่งขันหรือขัดกันอยู่โดยมิได้รับคำยินยอมจากคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้สมาชิกยังมิบังควรนำตนเองเข้าไปอยู่ในฐานะหาประโยชน์ใส่ตนหรือใช้ตำแหน่ง  หน้าที่  กระทำการอันเป็นการขัดกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่ตนมีอยู่กับลูกค้า  นายจ้าง  เพื่อนสมาชิก  หรือประชาชนโดยมิได้ชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหลายอันเกี่ยวกับผลประโยชน์ของตนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ5.  สมาชิกจะต้องประพฤติและปฏิบัติแต่สิ่งที่จะสร้างหรือธำรงไว้ซึ่งความมั่นใจให้แก่ลูกค้าหรือนายจ้างของตน  ทั้งในอดีตและปัจจุบัน  และจะต้องไม่รับรางวัลสินจ้างหรือรับจ้างทำงานซึ่งอาจมีผลทำให้ต้องเปิดเผยหรือความลับดังกล่าวมาเปิดเผยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเกิดอคติแก่ลูกค้าหรือนายจ้างของตน6.  สมาชิกจะต้องไม่ปฏิบัติตนไปในทางที่ทุจริตต่อบูรณภาพ  และช่องทางแห่งการติดต่อสื่อสารไปยังประชาชน7.  สมาชิกจะต้องไม่จงใจที่จะเผยแพร่ข่าวสารที่ผิดพลาดหรือชี้แนะให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น  และสมาชิกจะต้องระมัดระวังด้วยการหลีกเลี่ยงมิให้มีการเผยแพร่ข่าวสารที่ผิดพลาดจากความเป็นจริงหรือข่าวสารที่ชวนให้เกิดการเข้าใจผิดกันขึ้น8.  สมาชิกจะต้องพร้อมที่จะระบุให้ประชาชนทราบว่าแหล่งที่มาของข่าวสารที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบนั้นมาจากแหล่งใด ซึ่งหมายรวมถึงชื่อของผู้เป็นลูกค้าหรือนายจ้างที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาข่าวสารนั้นๆ ให้ด้วย9.  สมาชิกจะไม่ใช้บุคคลหรือองค์การที่ตนฝักใฝ่มาปฏิบัติงานเป็นตัวแทน  ในกิจการใดกิจการหนึ่งที่ตนได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้เป็นการแน่นอนแล้ว  หรือปฏิบัติคล้ายกับว่าจะดำเนินการโดยอิสระไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  แต่โดยแท้จริงแล้วกลับแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์อันไม่เปิดเผยของตนหรือลูกค้าหรือนายจ้างของตน10. สมาชิกจะไม่กระทำการใดๆ  อันเป็นการจงใจที่จะทำให้ชื่อเสียงหรือการปฏบัติงานของสมาชิกผู้อื่นเกิดความเสื่อมเสียมัวหมอง  แต่ถ้าหากปรากฏว่าสมาชิกมีหลักฐานว่าสมาชิกผู้อื่นเป็นผู้กระทำผิดกฏหมาย  หรือปฏิบัติขัดต่อจรรยาบรรณหรือมีการกระทำอันไม่ชอบธรรม  ซึ่งหมายรวมถึงการประพฤติละเมิดจรรยาบรรณนี้  สมาชิกมีหน้าที่จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของสมาคมทราบเพื่อให้ดำเนินการอันควรแก่กรณีตามที่ได้กำหนดระบุไว้ในกฏข้อบังคับของสมาคมมาตราที่  13  11.  สมาชิกจะต้องไม่ใช้วิธีการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าของสมาชิกผู้อื่น หรือแก่นายจ้าง หรือแก่ผลิตภัณฑ์  ธุรกิจ  หรือบริการของลูกค้า  หรือนายจ้าง12.  ในการจัดเสนอบริการแก่ลูกค้า  หรือนายจ้าง  สมาชิกจะต้องไม่รับค่าตอบแทนหรือค่านายหน้าหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นๆ  จากบุคคลอื่นใด  นอกจากลูกค้าหรือนายจ้างของตนเท่านั้น  เว้นแต่ลูกค้าหรือนายจ้างจะยินยอมให้ทำเช่นนั้นได้13.  สมาชิกจะต้องไม่ให้ข้อเสนอแนะบริการแก่ผู้ที่มาซึ่งผลที่หวังบางประการและสมาชิกไม่บังควรที่จะเจรจาให้ลูกค้าหรือนายจ้างทำสัญญาจ่ายค่าตอบแทนแก่ตนในรูปแบบนั้น14.  สมาชิกจะต้องไม่แทรกแซงก้าวก่ายการรับจ้างตามวิชาชีพของสมาชิกผู้อื่นในกรณีที่รับจ้างดำเนินงานสองแห่งพร้อมๆ กัน  งานทั้งสองแห่งนั้นจะต้องไม่ขัดผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน15.  สมาชิกจะต้องละเว้นไม่เกี่ยวข้องกับองค์การใดๆ  ทันทีเมื่อทราบหรือรับทราบว่าการปฏิบัติงานให้แก่องค์การนั้นต่อไป  จะยังผลให้สมาชิกผู้นั้นจะต้องละเมิดหลักการแห่งจรรยาบรรณนี้16.  สมาชิกผู้ได้รับเชิญให้มาเป็นสักขีพยานในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับของจรรยาบรรณนี้  จะต้องมาปรากฏตัวตามคำเชิญ  ยกเว้นในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยจึงจะขออนุญาตให้ขาดจากการมาเป็นพยานได้17.  สมาชิกจะต้องให้ความร่วมมือกับเพื่อนสมาชิกอื่นๆ  ในการช่วยกันธำรงรักษาให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักแห่งจรรยาบรรณ

สภาพการจ้างงาน

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ถ้ารับราชการ จะได้รับการบรรจุลงในตำแหน่ง และอัตราขั้นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สำหรับองค์กรภาคเอกชนถ้าสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือน และค่ายานพาหนะรวมประมาณเดือนละ 9,000 บาท -15,000 บาท และมีงบประมาณในการจัดเลี้ยงลูกค้า เบี้ยเลี้ยง การเดินทางต่างจังหวัด ส่วนสวัสดิการ โบนัส และผลประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้รับขึ้นอยู่กับ ผลประกอบการขององค์กร ช่วงเวลาทำงานมีทั้งเวลาทำงานปกติ และการทำงานล่วงเวลาเพื่อให้งานเสร็จ เพราะเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ มักจะต้องอยู่ต้อนรับแขกนักข่าว ตลอดจนลูกค้าจนกว่างานหรือการแถลงข่าวจะสิ้นสุดลง


สภาพการทำงาน

ทำงานกันเป็นทีมในสภาพที่ทำงานขององค์กร พร้อมด้วยอุปกรณ์การทำงาน เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ใน งานประชาสัมพันธ์ และออกทำงานในพื้นที่ นอกสำนักงานเพื่อติดตามงาน หรือกิจกรรมขององค์กร แถลงข่าว หรือการรณรงค์ออกจัดนิทรรศการแสดงสินค้าในงานส่งเสริมการขาย ซึ่งใช้เวลาทั้งกลางวันและกลางคืน จนกว่างานนั้นจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี อาจมีการทำงานล่วงเวลา สำหรับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของโรงแรมจะทำงานเป็นกะ กะละประมาณ 8-9 ชั่วโมง เนื่องจากธุรกิจโรงแรมเปิดตลอด 24 ชั่วโมงและไม่หยุดในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ดังนั้น การทำงานของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อาจทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลง คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1. สำเร็จปริญญาตรีคณะวารสารศาสตร์ และสาขาสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์และสาขาที่ เกี่ยวข้อง บริหารธุรกิจสาขาการตลาด 2. มีความรู้ภาษาอังกฤษดีมากทั้งการ พูด อ่าน เขียน ใช้เครื่องมือการสื่อสารได้ทุกชนิด รวมทั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่สามารถผลิตสื่อโฆษณาได้ และการรู้จักการใช้อินเตอร์เน็ต 3. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ต่อบุคคลภายในบุคคล ภายนอก บรรณาธิการ หรือผู้สื่อข่าว 4. มีปฏิภาณไหวพริบดี สามารถแก้ไขสถานการณ์ ได้ทันที เมื่อเกิดการผิดพลาดในการสื่อสาร 5. ต้องรู้จักสร้างเครือข่ายกับผู้สื่อข่าว สื่อสารมวลชน หัวหน้าชุมชน องค์กรกลางต่างๆ เจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานของรัฐฯ 6. มีความอดทน และพร้อมที่จะทำงานในเวลาใดก็ได้ 7. สามารถเดินทางไปต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ตามงานที่ได้รับมอบหมาย 8. ขวนขวายและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากทุกวงการ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาตาม หลักสูตรมัธยศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีความรู้ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างดี รักการอ่าน การเขียน มีความรู้กว้างขวาง สนใจใฝ่หาความรู้ด้านต่างๆ อย่างจริงจัง มีความสามารถในการถ่ายทอด มีความสนใจทางด้านศิลปะการสื่อสารความหมายประเภทต่างๆ


โอกาสในการมีงานทำ

ในยุคที่โลกไร้พรมแดน ประชากรทั่วโลกจะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเรื่องราวเดียวกันเกือบพร้อมกันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อตนเอง คนใกล้ตัว หรือโลก ทำให้องค์กร และสถาบันทั้งภาครัฐ และเอกชน ในปัจจุบันได้ตระหนักถึงความสำคัญในการประชาสัมพันธ์ภาระหน้าที่ขององค์กรให้บุคลากรภายในและสาธารณชน ได้มีความรู้เกี่ยวกับองค์กรอย่างถูกต้อง ตลอดจนส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างองค์กรและชุมชน และการเข้ามีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอันเป็นภาระ หน้าที่อีกประการหนึ่งที่ทุกองค์กรพึงปฏิบัติเนื่องจากเป็นวิธีการหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ และเป็นที่ตระหนักกันอย่างดีแล้วว่า ผลของการไม่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องอาจนำมาซึ่งความเสียหายขององค์กรและประเทศชาติดังนั้นองค์กรของรัฐและเอกชนจึงต้องการ นักประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ แต่เมื่อต้องการทำการประชาสัมพันธ์ระดับประเทศ หรือนานาชาติมักจะจัดจ้างบริษัท ตัวแทนจัดการ การโฆษณาประชาสัมพันธ์มาทำหน้าที่แทน ซึ่งก็ต้องจ้างนักประชาสัมพันธ์มืออาชีพมาทำงาน ในองค์กรธุรกิจเอกชนรายใหญ่ส่วนมากมักจะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ในฝ่ายสำนักงานบริหารทั่วไป แยกออกจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ส่งเสริมกิจการขาย ของฝ่ายการตลาด ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายอาจจะมีทีมงานเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายละประมาณ 5 -10 คน ส่วนบริษัทห้างร้านขนาดย่อมจะมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 – 2 คน เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงาน ส่งเสริมภาพพจน์ และสินค้าของบริษัท นอกเหนือจากการว่าจ้างบริษัททำประชาสัมพันธ์ และปัจจุบันองค์กรธุรกิจมักจะรับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่มีความรู้ตรงกับธุรกิจที่ ดำเนินการอยู่ ดังนั้น โอกาสการมีงานทำจึงเปิดกว้าง สำหรับ ผู้สำเร็จปริญญาตรีทุกสาขา


โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้ปฏิบัติงานในอาชีพนี้ ที่มีความสามารถ จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้จัดการ ผู้อำนวยการจนถึงโครงสร้างสูงสุดของผู้บริหาร โดยเฉพาะในสายธุรกิจ เมื่อมีความสามารถ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชน ทุกสาขาแล้ว ย่อมจะมีโอกาสก้าวหน้าได้มาก ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์สามารถประกอบอาชีพส่วนตัว โดยรับทำงาน ประชาสัมพันธ์กับองค์กร ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ได้ โดยใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และยังประหยัดค่าใช้จ่ายใน การจัดตั้งบริษัทอีกด้วย


อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง

นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ นักการตลาด นักเขียนประกาศโฆษณา บริษัทตัวแทนรับจัดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ในองค์กรการเมืองหรือ องค์กรที่ทำประโยชน์ เพื่อสังคม เจ้าหน้าที่อบรมหลักสูตรการประชาสัมพันธ์

 


ที่มา teacher

เว็บไซต์บริการจัดหางาน ประกาศหางานทางหนังสือพิมพ์ กรมการจัดหางาน ข่าวบริการโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ และฝ่ายประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานเอกชนต่างๆ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)